วัดพระธาตุแช่แห้ง

วัดพระธาตุแช่แห้ง

Highlight

  • วัดพระธาตุแช่แห้ง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวน่าน และพระบรมธาตุเจดีย์เป็นส่วนหนึ่งบนตราประจำจังหวัดน่าน ในทุก ๆปีจะมีการจัดงานนมัสการพระบรมธาตุแช่แห้ง เรียกว่าประเพณี “หกเป็ง” จะตรงกับช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นมีนาคม

1.วัดพระธาตุแช่แห้งวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวน่าน

วัดพระธาตุแช่แห้ง เรียกได้ว่าเป็นวัดที่คู่บ้านคู่เมืองของคนน่านมาช้านาน ถ้าสังเกตตราประจำจังหวัดน่าน จะเห็นว่ามีพระบรมธาตุเจดีย์แช่แห้งเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย หลายคนเข้าใจผิดว่าวัดพระธาตุแช่แห้งตั้งอยู่ในเขตเมืองน่าน แต่จริง ๆแล้วตั้งอยู่ในเขตอำเภอภูเพียง จ.น่าน นะครับ และไม่ว่าจะสถานที่ไหนหากถ้าเราข้ามแม่น้ำน่านมาฝั่งตะวันออก ก็จะเป็นฝั่งโซนของอำเภอภูเพียงทั้งหมด การเดินทางมาวัดพระธาตุแช่แห้งก็ไม่ยากอยู่ห่างจากวัดภูมินทร์หรือตัวเมืองน่านประมาณไปทางตะวันออก 3.2 กิโลเมตรเท่านั้น ใช้ถนนหลวงหมายเลข 1168 ขึ้นสะพานพัฒนาภาคเหนือ(สะพานข้ามแม่น้ำน่าน) พอเลยสะพานมาประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะถึงวงเวียนหน้าวัดพระธาตุแช่แห้ง หากลองมองไปจะมีรูปปั้นปูนพญานาคคู่ขนาดใหญ่ตรงหน้าวัด ตรงบริเวณนาคคู่นี้ถ้าไปยืนอยู่จะมองเห็นแนวถนนของตัวเมืองของอำเภอภูเพียงที่ตรงเข้ามาหาหน้าวัดพระธาตุแช่แห้งได้

วัดพระธาตุแช่แห้ง น่าน
วัดพระธาตุแช่แห้ง น่าน

วัดพระธาตุแช่แห้ง น่าน

วัดพระธาตุแช่แห้ง น่าน

วัดพระธาตุแช่แห้ง น่าน

วัดพระธาตุแช่แห้ง น่าน

“วัดพระธาตุแช่แห้ง” เป็นหนึ่งในวัดที่เก่าแก่ของจังหวัดน่าน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพญาการเมืองระหว่างปี พ.ศ. 1891-1901 หรือประมาณ 670 ปี มาแล้ว(ช่วงสมัยก่อตั้งอยุธยาแรก ๆ และสุโขทัยตอนปลาย) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้รับมาจากอณาจักรสุโขทัย แสดงให้เห็นว่าในอดีตทั้งสองอณาจักรมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน นอกจากนี้ทั้งชาวล้านนาและชาวน่านในอดีตจนถึงปัจจุบันมีความเชื่อว่าการเดินทางได้ไปสักการะบูชากราบไหว้พระธาตุแช่แห้ง (การชูธาตุ) แล้วจะทำให้ชีวิตอยู่ดีมีสุข และในทุก ๆปีจะมีการจัดงานนมัสการพระบรมธาตุแช่แห้ง ระหว่าง 9 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เดือน 6 (ปฏิทินล้านนา) หรือเรียกกันว่าประเพณี “หกเป็ง” ซึ่งจะตรงกับปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคมของทุกปี สำหรับปฏิทิน 2563 จะตรงกับวันที่ 02/03/2563 – 08/03/2563

วัดพระธาตุแช่แห้ง น่าน

วัดพระธาตุแช่แห้ง น่าน

2.สถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุแช่แห้ง

พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะวัฒนธรรมมาจากเจดีย์หริภุญชัย มีความสูงประมาณ 55.5 เมตร(2เส้น) ตั้งอยู่บนฐานสีเหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ 22.5 เมตร บุด้วยทองเหลืองทั้งหมด

องค์พระธาตุแช่แห้ง น่าน

วิหารพระนอน อยู่ทางด้านนอกกำแพงแก้วขององค์พระธาตุ ตัววิหารมีการสร้างตามแนวขององค์พระนอน จะมีประตูเข้าอยู่ด้านหลังวิหาร

วัดพระธาตุแช่แห้ง น่าน

วิหารหลวง จุดเด่นคือหน้าบันประตูวิหารมีลักษณะปูนปั้นลายนาคเกี้ยวกระหวัด เรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะเมืองน่าน และภายในวิหารจะมีพระเจ้าล้านทอง ปางมารศรีวิชัยศิลปะแบบล้านนา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประธานคู่บ้านคู่เมืองของชาวน่าน และมีพระพุทธรูปประทับยืนจำลองอีกจำนวนสององค์ ส่วนองค์จริงไปไหนนั้นเท่าที่หาข้อมูลมา คือองค์แรกส่งมอบให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ส่วนอีกองค์ถูกโจรกรรมไปยังไม่ได้คืน