วัดพระธาตุเขาน้อย

วัดพระธาตุเขาน้อย

Highlight

  • วัดพระธาตุเขาน้อย จุดชมวิวเมืองน่านที่ดีที่สุด เหมาะกับการเก็บแสงเช้าเป็นอย่างมาก ถ้าคืนไหนนอนในเมืองน่านเช้าวันต่อมาแนะนำให้มาจัดที่นี่โลด แสงเช้าสวยมาก และควรมาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น 1 ชม. ส่วนแสงเย็นที่นี่ผมว่าไม่ค่อยเวิร์ค แนะนำให้ไปเก็บที่อื่นดีกว่า
  • บนวัดพระธาตุเขาน้อย มีโอกาสเห็นทะเลหมอกปกคลุมเมืองน่านพร้อมกับแสงสีทองในตอนเช้าได้ในช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม

1.วัดพระธาตุเขาน้อย แต่วิวไม่น้อย

หลายคนน่าจะรู้จัก “วัดพระธาตุเขาน้อย” กันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นจากภาพโปสการ์ดหรือกระทู้รีวิวเมืองน่านในพันทิป ที่มักจะมีภาพพระพุทธรูปปรางค์ยืนแล้วเห็นเมืองน่านอยู่ด้านล่าง นั่นแหละครับคือภาพที่ถ่ายจากลานบนวัดพระธาตุเขาน้อย โดยส่วนใหญ่แล้วนักท่องเที่ยวจะแวะขึ้นมาไหว้พระกันในช่วงกลางวัน แล้วก็ชมวิวเมืองน่านนิด ๆหน่อย ๆก็กลับ ทั้งที่จริงแล้ววัดพระธาตุเขาน้อยถือเป็นจุดที่สามารถเก็บแสงเช้าได้สวยโคตร ๆอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดน่านเลยนะครับ ผมแนะนำว่าถ้าคืนไหนนอนในเมืองน่าน เช้าวันต่อมาให้ขึ้นมาเก็บแสงเช้าที่วัดพระธาตุเขาน้อยก่อนเลย เมื่อได้รูปภาพที่พอใจแล้วค่อยลงไปเที่ยววัดต่าง ๆในเมือง และควรมาถึงด้านบนวัดพระธาตุฯก่อนพระอาทิตย์ขึ้นสัก 1 ช.ม. (บอกเลยว่าความสุด อยู่ที่ช่วงแสง twilight) แล้วยิ่งมาช่วงฤดูหนาวก็มีโอกาสเจอทะเลหมอกปกคลุมเมืองน่านได้อีกด้วย หรือย่างน้อยก็เจอหมอกบาง ๆที่ปกคลุมตามแนวภูเขา สุดท้ายขอเน้นเลยว่าความอลังการของวัดพระธาตุเขาน้อยจริง ๆ อยู่ที่ตอนเช้า

วัดพระธาตุเขาน้อย ทะเลหมอก หน้าหนาว

วัดพระธาตุเขาน้อย ทะเลหมอก ช่วงแสงสนธยา หน้าหนาว

วัดพระธาตุเขาน้อย ทะเลหมอก ช่วงแสงสนธยา หน้าหนาว

วัดพระธาตุเขาน้อย ทะเลหมอก ช่วงแสงสนธยา หน้าหนาว

วัดพระธาตุเขาน้อย บริเวณวัด ช่วงกลางคืน

“วัดพระธาตุเขาน้อย” ตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 290 เมตร และสูงกว่าระดับเมืองน่านประมาณ 90 เมตร แม้ว่าจะสูงไม่มาก แต่ด้วยที่ตั้งติดกับเมืองน่าน เลยทำให้เห็นมุมสูงของตัวเมืองน่านได้อย่างใกล้ชิดมากที่สุด จากมุมนี้จะเห็นว่าเมืองน่านตั้งอยู่ในหุบเขาลุ่มแม่น้ำน่าน ที่เกิดจากการยุบตัวของแผ่นดินในอดีต ในวันที่อากาศแจ่มใสทัศนวิสัยดี บนนี้เราสามารถมองเห็นแนวทิวเขาดอยภูคา ซึ่งเป็นยอดเขาสูงสุดของจังหวัดน่านได้ และในบริเวณลานชมวิวปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน ปางประทานพร สูงถึง 9 เมตร บนยอดพระเกสา(หัว)ทำจากทองคำหนักถึง 27 บาท (411.588 กรัม มูลค่าคร่าว ๆ 4 แสนบาท) สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยพระประธานหันหน้าไปทางเมืองน่าน และหากสังเกตดี ๆจะหันตรงกับวัดพระธาตุแช่แห้งพอดีด้วย(ไม่ใช่เรื่องมหัศจรรย์อะไรนะครับ คนสร้างเขาตั้งใจไว้แบบนั้น 555) นอกจากนี้บริเวณหน้าวัดมีบันไดนาค 303 ขั้น ใครที่อยากออกกำลังกาย ก็จอดรถข้างล่างแล้วเดินขึ้นมาได้ แต่ผมว่าขึ้นมาจอดข้างบนเถอะ ลานจอดด้านบนเยอะมาก จะได้ไม่ต้องเหนื่อยเดินขึ้นบันได

วัดพระธาตุเขาน้อย น่าน ทะเลหมอก  หน้าหนาว
พระธาตุเขาน้อย ทะเลหมอกเช้า ๆ ปกคลุมเมืองน่าน หน้าหนาว
พระธาตุเขาน้อย ทะเลหมอกเช้า ๆ ปกคลุมเมืองน่าน ช่วงแสงสนธยา หน้าหนาว
วัดพระธาตุเขาน้อย น่าน ทะเลหมอก  หน้าหนาว
พระธาตุเขาน้อย ทะเลหมอกเช้า ๆ ปกคลุมเมืองน่าน ช่วงแสงทอง หน้าหนาว
วัดพระธาตุเขาน้อย น่าน ช่วงเช้า หน้าหนาว
บันได 303 ขั้น ขึ้นมาบนพระธาตุฯ
วัดพระธาตุเขาน้อย น่าน ช่วงเช้า หน้าหนาว
พระธาตุเขาน้อย ภายในบริเวณวัด ช่วงเวลาแสงเช้า หน้าหนาว

2.วัดพระธาตุเขาน้อย ไปช่วงไหนสวย มีทะเลหมอก

 

ช่วงเช้า เป็นช่วงเวลาที่สวยพีคมากที่สุด เพราะบริเวณลานด้านบนวัดสามารถเก็บแสงเช้า และพระอาทิตย์ขึ้นได้ ในช่วงฤดูหนาวบางครั้งจะมีทะเลหมอกปกคลุมเมืองน่าน(เดือนธันวาคม – มกราคม) ในเรื่องของทะเลหมอกหลายคนมักเข้าใจผิดว่าจะเกิดขึ้นตอนช่วงที่ลมหนาวลงมาแรง ๆ แต่ถ้าว่ากันตรง ๆหมอกที่ปกคลุมเมืองน่านส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นช่วงที่ลมหนาวรอบนั้นกำลังอ่อนลงนะครับ เพราะเมืองน่านเวลาลมหนาวลงมาช่วงแรก ๆลมจะพัดแรงมากจนหมอกปลิวหายหมด ดังนั้นหากใครอยากมาเก็บทะเลหมอกบนนี้ให้มาช่วงที่ลมหนาวเริ่มอ่อนกำลังลง รับรองหมอกเยอะแน่นอน แต่ถ้ามาช่วงที่มีไม่มีทะเลหมอกหนาๆก็ไม่ต้องเสียใจไป เพราะอย่างน้อยมันก็มีหมอกบาง ๆปกคลุมตามเชิงเขาอยู่บ้าง ไม่ใช่ไม่มีเลยซะทีเดียว (หน้าฝนเช้า ๆก็พอมีหมอกบาง ๆ ตามภูเขานะครับ)

วัดพระธาตุเขาน้อย น่าน หมอกบาง ๆ ช่วงเช้า หน้าหนาว
ภาพมุมกว้าง พระประธานปางค์ยืน เบื้องหน้ามีทะเลหมอก ปกคลุมเมืองน่าน
ภาพมุมกว้าง พระประธานปางค์ยืน เบื้องหน้ามีทะเลหมอก ปกคลุมเมืองน่าน
ทะเลหมอก เมืองน่าน พระธาตุเขาน้อย
ภาพมุมกว้าง ทะเลหมอกปกคลุมเมืองน่าน ถ่ายจากลานชมวิวบนพระธาตุฯ
ภาพมุมปกติ ทะเลหมอกปกคลุมเมืองน่าน ถ่ายจากลานชมวิวบนพระธาตุฯ
ภาพมุมแคบ ระยะซูม 85 mm ทะเลหมอกปกคลุมเมืองน่าน ถ่ายจากลานชมวิวบนพระธาตุฯ
ภาพมุมแคบ ระยะซูม 85 mm ทะเลหมอกปกคลุมเมืองน่าน ถ่ายจากลานชมวิวบนพระธาตุฯ มองดี ๆ จะเห็นว่าหมอกมักจะปกคลุมหนาทางฝั่งอำเภอภูเพียง
ภาพมุมแคบ ระยะซูม 85 mm ทะเลหมอกปกคลุมเมืองน่าน มีเทือกเขาดอยภูคาเป็นฉากหลัง

 

ช่วงเย็น การเก็บแสงเย็นที่พระธาตุเขาน้อยอาจจะไม่ค่อยเวิร์คเท่าไหร่ เพราะพระอาทิตย์จะตกดินบริเวณด้านหลังวัดหรือบริเวณลานจอดรถ ซึ่งมุมตรงนี้มีต้นไม้บังทัศนวิสัยเยอะมาก แต่ถ้าไหน ๆก็มาแล้ว แนะนำให้ไปเก็บแสงเย็นฝั่งด้านเมืองน่าน แล้วรอกลางคืนเก็บแสงไฟตอนกลางคืนไปเลย

ภาพมุมแคบ ระยะซูม 85 mm เทือกเขาโอบล้อมเมืองน่าน ช่วงยามแสงเย็น
พระพุทธรูปปางค์ ประธานพร ช่วงเวลาแสงสนธยาตอนเย็น
ลานจอดรถบนวัดพระธาตุเขาน้อย จุดชมวิวพระอาทิตย์ตกดิน
พระอาทิตย์ตกดิน มองจากลานจอดรถของวัด
วัดพระธาตุเขาน้อย บริเวณวัด ช่วงกลางคืน
บริเวณพระธาตุเขาน้อย เปิดไฟประดับสวยงาม ช่วงเวลากลางคืน
แสงไฟเมืองน่าน พระธาตุเขาน้อย น่าน
แสงไฟเมืองน่าน

 

ช่วงกลางวัน ถ้าต้องการได้ขอบฟ้าที่เป็นสีฟ้าไม่ย้อนแสงทางด้านเมืองน่าน แนะนำให้ไปหลังเที่ยงวัน จนถึงเย็นจะสามารถเก็บรายละเอียด(detail)ของเมืองน่านได้ครบหมด หากมาก่อนเที่ยงทางฝั่งเมืองน่านจะย้อนแสง ผมแนะนำว่าถ้าจะมาก่อนเที่ยงให้มาเช้าไปเลยดีกว่า เพราะจะได้เก็บหมอกบาง ๆพร้อมกับแสงทองไปเลย

มุมมองเมืองน่าน ในตอนกลางวัน ช่วงหน้าหนาว จะเห็นเทือกเขาเป็นแนวยาวเหนือ-ใต้
มุมมองเมืองน่าน ในตอนกลางวัน ช่วงหน้าหนาว จะเห็นเทือกเขาเป็นแนวยาวเหนือ-ใต้
มุมมองเมืองน่าน ระยะซูม 85 mm ในตอนกลางวัน ช่วงหน้าหนาว จะเห็นดอยภูคาระยะไกล ๆ
พระธาตุเขาน้อย หน้าร้อน ฤดูแล้ง
มุมมองเมืองน่าน จะเห็นได้ชัดว่า ในหน้าร้อนจะมีหมอกแดดผกคลุมสูงมากจนมองไม่เห็นแนวเทือกเขาดอยภูคาด้านหลังเลย
พระธาตุเขาน้อย หน้าร้อน ฤดูแล้ง
มุมมองเมืองน่าน หน้าร้อน จะเห็นได้ชัดว่ามีหมอกแดดผกคลุมสูงมากจนมองไม่เห็นแนวเทือกเขาด้านหลังเลย

3.ประวัติศาสตร์นิดๆหน่อยๆ

“พระธาตุเขาน้อย” สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง ในปี พ.ศ. 2030 หรือประมาณ 500 กว่าปีมาแล้ว (กรุงศรีอยุธยาตอนต้น) มีอายุใกล้เคียงกับวัดพระธาตุแช่แห้ง สร้างโดยพระมเหสีรองของพญาภูเข็ง เจ้าผู้ครองนครน่าน และต่อมาในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชฯ หรือประมาณช่วงปี พ.ศ. 2449-2452 (รัชกาลที่ 5) ได้มีการบูรณะใหม่ ซึ่งพระวิหารก็สร้างขึ้นในช่วงนี้ด้วย แต่ว่าช่างที่มาบูรณะนั้นเป็นชาวพม่าชื่อ “หม่องยิง” เลยทำให้องพระเจดีย์หรือพระวิหารมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมล้านนาผสมกับพม่า และภายในองค์พระธาตุเจดีย์มีความเชื่อว่าเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

บริเวณองค์พระธาตุเจดีย์เขาน้อย ช่วงเช้า ๆ อากาศเย็น ๆ
องค์พระธาตุเจดีย์เขาน้อย
องค์พระธาตุเจดีย์เขาน้อย ช่วงเวลาเย็น ๆ

มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นมาประทับบนดอยแห่งนี้ พระพุทธเจ้ารู้ว่า ณ สถานที่แห่งนี้จะเป็นศูนย์รวมพระศาสนาจึงได้มอบพระเกศา 2 เส้น และพระพุทธเจ้าทรงหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของเมืองน่านในปัจจุบันแล้วตรัสว่า “ต่อไปสถานที่นี้จะเป็นที่ตั้งของเมืองที่มีชื่อว่า “นันทบุรี” ซึ่งจะเป็นเมืองที่ศาสนาเจริญรุ่งเรือง และสามารถรักษาพระพุทธศาสนาได้ครบ 5,000 ปี เท่าที่เห็นก็มีความเป็นไปได้นะ ไม่เชื่อลองมองลงไปในเมืองน่านจะเห็นวัดเยอะมาก ๆ ถ้าดูจากกรมศาสนาแล้วในเขตอำเภอเมืองน่านปัจจุบันมีทั้งหมด 102 วัด(ไม่รู้ว่าวัดจะเยอะไปไหน ฮ่า ๆ) แต่ขอย้ำนะครับว่าเรื่องด้านบนคือตำนานที่ถูกเล่าขานกันมาทั้งสิ้น  เพราะหากมองในแง่มุมตามหลักฐานประวัติศาสตร์ที่พบแล้ว พระพุทธเจ้าไม่เคยสเด็จมายังแถบนี้นะครับ ไม่ใช่เฉพาะที่น่าน แต่ทั้งประเทศไทยไม่มีหลักฐานว่าพระพุทธเจ้าท่านเคยเสด็จมาดินแดนแห่งนี้เลย และดินแดนเมืองน่านพึ่งมีอารยธรรมเริ่มต้นประมาณช่วง พ.ศ. 1700 นำโดยเจ้าพญาภูคา ซึ่งตรงกับยุครุ่งเรืองของการค้าโลกพอดี(สุโขทัย หริภุญชัย เวียงกุมกาม ก็ก่อตรั้งประมาณนี้แหละ) ก่อนหน้านี้สมัยพุทธกาลแถบเมืองน่าน หรือภาคเหนือเป็นเพียงชนเผ่ากลุ่มเล็ก ๆเท่านั้น

พระประธานภายในโบสถ์ ที่มีลักษณะคล้ายกับศิลปะพม่า
พระธาตุเขาน้อย หน้าร้อน ฤดูแล้ง
ภายในบริเวณ ช่วงหน้าร้อน จะเห็นได้เลยว่าต้นไม้ค่อนข้างแห้งมาก แต่ว่าลมข้างบนก็เย็นดีนะครับ ขนาดตอนสาย ๆแล้ว
องค์พระธาตุเจดีย์เขาน้อย สีขาวสวยงาม ฉากหลังเป็นท้องฟ้า